วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวมีลักษณะอย่างไร

เซลล์พืชและเซลล์สัตว์

สิ่งมีชีวิตทุกชนิดประกอบด้วยเซลล์ เซลล์พืชและเซลล์สัตว์

แตกต่างกันทั้งรูปร่างและรูปร่าง แต่ที่สำคัญคือเซลล์ของ

สิ่งมีชีวิตมีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วนที่เหมือนกัน ได้แก่

 นิวเคลียส ไซโทพลาซึม และเยื่อหุ้มเซลล์

นิวเคลียส มีรูปร่างค่อนข้างกลม ภายในมีสารที่ควบคุม

ลักษณะทางพันธุกรรมและควบคุมการทำงานหรือกิจกรรมต่างๆ

ของเซลล์ ไซโทพลาซึม เป็นของกึ่งของเหลวที่มีส่วนประกอบเล็ก

 ๆ หลายชนิดกระจายอยู่ทั่วไป ส่วนประกอบเหล่านี้ทำหน้าที่สำคัญ

หลายอย่างในกระบวนการ

ดำรงชีวิตของเซลล์ ในไซโทพลาซึมยังมีสารจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของเซลล์

เช่น น้ำตาล โปรตีน ละลายและแขวนลอยอยู่ รวมทั้งมีของเสียต่างๆ จาก

กิจกรรมของเซลล์ด้วย

เยื่อหุ้มเซลล์ อยู่ด้านนอกสุดของเซลล์ ทำหน้าที่ห่อหุ้มส่วนต่างๆ

ที่อยู่ภายในเซลล์ แบ่งแยกขอบเขตของเซลล์จากสิ่งแวดล้อม

และควบคุมการลำเลียงของสารเข้าและออกจากเซลล์

นอกจากส่วนประกอบที่กล่าวมาแล้วนี้ เซลล์พืชยังมีส่วนประกอบ

บางอย่างที่เซลล์สัตว์ไม่มีคือ

ผนังเซลล์ ซึ่งเป็นส่วนที่ห่อหุ้มเยื่อหุ้มเซลล์ เป็นสารพวกเซลลูโลส

ทำหน้าที่เพิ่มความแข็งแรงป้องกันอันตรายให้แก่เซลล์พืช จึงทำให้

เซลล์พืชมีรูปร่างคงที่ได้

คลอโรพลาสต์ เป็นเม็ดสีเขียว ประกอบด้วยเยื่อหุ้ม 2 ชั้น ชั้นนอก

ทำหน้าที่ควบคุมโมเลกุลต่าง ๆ ที่ผ่านเข้าออก ส่วนชั้นในจะมีคลอโรฟิลล์

และเอนไซม์ที่ช่วยในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง

 

 

สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวมีลักษณะอย่างไร
ถ้าเพื่อนๆ ตักน้ำจากบ่อหรือสระมาศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์ โดยเฉพาะ
น้ำที่อยู่บริเวณราก จอก แหน หรือพืชชนิดอื่นๆ อาจพบสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
บางชนิดดังในภาพต่อไปนี้

เซลล์สิ่งมีชีวิต

เซลล์สิ่งมีชีวิต

พารามีเซียม

ยูกลีนา

อะมีบา

ภาพแสดง เซลล์ขิงสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวบางชนิด

สิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีเซลล์เป็นหน่วยพื้นฐาน สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวจะดำเนิน

กิจกรรมทั้งหมดในการดำรงชีวิต เช่น กินอาหาร ย่อยอาหาร เคลื่อนที่ สืบพันธุ์

ได้ภายในเซลล์เพียง 1 เซลล์ สิ่งมีชีวิตที่มีหลายเซลล์จะมีการเรียงตัวของเซลล์

เป็น เนื้อเยื่อ ซึ่งก็คือรูปร่างเหมือนกันและทำหน้าที่อย่างเดียวกันมาอยู่รวมกัน

เช่น เนื้อเยื่อประสาท เนื้อเยื่อบุผนังลำไส้ เป็นต้น

 

ที่มาhttp://www.thaiblogonline.com/student.blog?PostID=3190   31/01/2556

6 ความคิดเห็น: