วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

โครงสร้าง

                                                  

    เซลล์โดยทั่วไปถึงแม้จะมีขนาด รูปร่าง และหน้าที่แตกต่างกัน แต่ลักษณะพื้นฐานภายในเซลล์มักไม่แตกต่างกัน นักชีววิทยาได้ใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนศึกษาเซลล์ของสิ่งมีชีวิตพบว่า ในไซโทพลาซึมมีโครงสร้างขนาดเล็กที่ทำหน้าที่เฉพาะเรียกว่า ออร์แกเนลล์ (organelle) มีหลายขนาด รูปร่าง จำนวน และหน้าที่ต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์ซึ่งจะประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่คล้ายคลึงกัน ดังนี้














             โครงสร้างของเซลล์เมื่อศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน


1. นิวเคลียส (nucleus)
เป็นโครงสร้างที่มักพบอยู่กลางเซลล์เมื่อย้อมสีจะติดสีเข้มทึบ มีลักษณะเป็นก้อนทึบแสงเด่นชัดอยู่บริเวณกลางๆ เซลล์โดยทั่วๆ ไปจะมี 1 นิวเคลียส เซลล์พารามีเซียม มี 2 นิวเคลียส นิวเคลียสมีความสำคัญเนื่องจากเป็นที่อยู่ของสารพันธุกรรม จึงมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของเซลล์ โดยทำงานร่วมกับไซโทพลาซึม















โครงสร้างของนิวเคลียสและเยื่อหุ้มนิวเคลียส


สารประกอบทางเคมีของนิวเคลียส ประกอบด้วย
1. ดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (deoxyribonucleic acid) หรือ DNA เป็นส่วนประกอบของโครโมโซมนิวเคลียส
2. ไรโบนิวคลีอิก แอซิด (ribonucleic acid) หรือ RNA เป็นส่วนที่พบในนิวเคลียสโดยเป็นส่วนประกอบของนิวคลีโอลัส
3. โปรตีน ที่สำคัญคือโปรตีนฮีสโตน (histone) โปรตีนโพรตามีน (protamine) ทำหน้าที่เชื่อมเกาะอยู่กับ DNA ส่วนโปรตีนเอนไซม์ส่วนใหญ่จะเป็นเอนไซม์ในกระบวนการสังเคราะห์กรดนิวคลีอิก และเมแทบอลิซึมของกรดนิวคลีอิก
โครงสร้างของนิวเคลียส ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
1. เยื่อหุ้มนิวเคลียส (nuclear membrane) เป็นเยื่อบางๆ 2 ชั้น เรียงซ้อนกัน ที่เยื่อนี้จะมีรู เรียกว่านิวเคลียร์ พอร์ (nuclear pore) หรือ แอนนูลัส (annulus) มากมาย ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของสารต่างๆ ระหว่างไซโทพลาซึมและนิวเคลียส นอกจากนี้เยื่อหุ้มนิวเคลียสยังมีลักษณะเป็นเยื่อเลือกผ่านเช่นเดียวกับเยื่อหุ้มเซลล์
2. โครมาทิน (chromatin) เป็นส่วนของนิวเคลียสที่ย้อมติดสี เป็นเส้นใยเล็กๆ พันกันเป็นร่างแห ประกอบด้วย โปรตีนหลายชนิด และ DNA มีหน้าที่ควบคุมกิจกรรมต่างๆ ของเซลล์และควบคุมการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตทั่วไป
3. นิวคลีโอลัส (nucleolus) เป็นส่วนของนิวเคลียสที่มีลักษณะเป็นก้อนอนุภาคหนาทึบ ประกอบด้วย โปรตีน และ RNA โดยโปรตีนเป็นชนิดฟอสโฟโปรตีน (phosphoprotein) และไม่พบโปรตีนฮีสโตนเลย นิวคลีโอลัสมีหน้าที่ในการสังเคราะห์ RNA ชนิดต่างๆ ดังนั้นนิวคลีโอลัสจึงมีความสำคัญต่อการสร้างโปรตีนเป็นอย่างมาก เนื่องจากไรโบโซมทำหน้าที่สร้างโปรตีน

2. ไซโทพลาซึม (cytoplasm)
เป็นส่วนที่ล้อมรอบนิวเคลียสอยู่ภายในเยื่อหุ้มเซลล์ โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ
1. เอกโทพลาซึม (ectoplasm) เป็นส่วนของไซโทพลาซึมที่อยู่ด้านนอกติดกับเยื่อหุ้มเซลล์ มีลักษณะบางใส เพราะมีส่วนประกอบต่างๆ ของเซลล์อยู่น้อย
2. เอนโดพลาซึม (endoplasm) เป็นชั้นของไซโทพลาซึมที่อยู่ด้านในใกล้นิวเคลียส ชั้นนี้จะมีลักษณะที่เข้มข้นกว่าเนื่องจากมี ออร์แกเนลล์ (organelle) และอนุภาคต่างๆ ของสารอยู่มาก จึงเป็นบริเวณที่เกิดปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ของเซลล์มากด้วย
ไซโทพลาซึม นอกจากแบ่งออกเป็น 2 ชั้น แล้วยังมีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วนคือ
ก. ออร์แกเนลล์ (organelle) เป็นส่วนที่มีชีวิต ทำหน้าที่คล้ายๆ กับเป็นอวัยวะของเซลล์
ออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้ม (membrane bounded organelle)
1. ไมโทคอนเดรีย (mitochondria) ส่วนใหญ่จะมีรูปร่างกลม ท่อนสั้น ท่อนยาว หรือกลมรีคล้ายรูปไข่ ประกอบด้วยสารโปรตีน ประมาณร้อยละ 60-65 และลิพิดประมาณร้อยละ 35-40 ภายในไมโทคอนเดรียมีของเหลวซึ่งประกอบด้วยสารหลายชนิดเรียกว่า มาทริกซ์ (matrix) มีเอนไซม์ที่สำคัญในการสร้างพลังงานจากการหายใจ นอกจากนี้ยังพบเอนไซม์ในการสังเคราะห์ DNA สังเคราะห์ RNA และโปรตีนด้วย หน้าที่ของไมโทคอนเดรียคือ เป็นแหล่งสร้างพลังงานของเซลล์โดยการหายใจ
2. เอนโดพลาสมิก เรติคูลัม (endoplasmic reticulum:ER) เอนโดพลาสมิก เรติคูลัมเป็นออร์แกเนลล์ที่มีเมมเบรนห่อหุ้ม















เอนโดพลาสมิกเรติคูลัม


ประกอบด้วยโครงสร้างระบบท่อที่มีการเชื่อมประสานกันทั้งเซลล์ แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
2.1 เอนโดพลาสมิก เรติคูลัมชนิดขรุขระ (rough endoplasmic reticulum:RER) เป็นชนิดที่มีไรโบโซม มีหน้าที่สำคัญคือ การสังเคราะห์โปรตีนของไรโบโซมที่เกาะอยู่ และลำเลียงสารซึ่งได้แก่โปรตีนที่สร้างได้ และสารอื่นๆ
2.2 เอนโดพลาสมิก เรติคูลัมชนิดเรียบ (smooth endoplasmic reticulum:SER) เป็นชนิดที่ไม่มีไรโบโซม มีหน้าที่สำคัญคือ ลำเลียงสารต่างๆ เช่น RNA ลิพิดโปรตีนสังเคราะห์สารพวกไขมันและสเตอรอยด์ฮอร์โมน
3. กอลจิ บอดี (Golgi body) มีรูปร่างลักษณะเป็นถุงแบนๆ หรือเป็นท่อเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ มีหน้าที่สำคัญคือ เก็บสะสมสารที่เซลล์สร้างขึ้นก่อนที่จะปล่อยออกนอกเซลล์ ซึ่งสารส่วนใหญ่เป็นสารโปรตีน นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับการสร้างนีมาโทซีส (nematocyst) ของไฮดราอีกด้วย








 







              กอลจิบอดี

การสังเคราะห์เเสง

 การสังเคราะห์เเสง

การสังเคราะห์แสง คือ กระบวนการซึ่งพืชสังเคราะห์สารอินทรีย์จากสารประกอบ อนินทรีย์ โดยมีแสงปรากฏอยู่ด้วย สิ่งมีชีวิตทุกชนิดต้องการพลังงานเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตและรักษาสภาพเดิมให้คงอยู่ สาหร่าย พืชชั้นสูง และแบคทีเรียบางชนิดสามารถรับพลังงานโดยตรงจากแสงอาทิตย์ และใช้พลังงานนี้ในการสังเคราะห์สารที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ แต่สัตว์ไม่สามารถรับพลังงานโดยตรงจากแสงอาทิตย์ ต้องรับพลังงานโดยการบริโภคพืชและสัตว์อื่น ดังนั้นแหล่งของ พลังงานทางเมตาบอลิสม์ในโลกคือ ดวงอาทิตย์ และกระบวนการสังเคราะห์แสง จึงจำเป็นสำหรับชีวิตบนโลก ประโยชน์ของการสังเคราะห์แสง

1. เป็นกระบวนการสร้างอาหารเพื่อการดำรงชีวิตของพืช

2. เป็นกระบวนการซึ่งสร้างสารประกอบชนิดอื่น ซึ่งจำเป็นต่อกระบวนการเจริญ

เติบโตของพืช

3. เป็นกระบวนการซึ่งให้ก๊าซออกซิเจนแก่บรรยากาศ

4. ลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ให้อยู่ในสภาวะสมดุล

กระบวนการสังเคราะห์แสง

Emerson Enhancement Effect และ Photosystems

Enzymatic Reaction

การจับ CO2ของพืชอวบน้ำ

Photorespiration

ปัจจัยที่ควบคุมการสังเคราะห์แสง

การที่พืชรับพลังงานแสงจากดวงอาทิตย์ได้โดยตรงนี้ พืชต้องมีกลไกพิเศษ คือ มีรงควัตถุ (Pigment) สีเขียว ซึ่งเรียกว่า คลอโรฟิลล์ (Chlorophylls) ซึ่งมีโครงสร้างประกอบด้วยวงแหวน Pyrrole 4 วง เรียงติดกัน มี Mg อยู่ตรงกลาง ซึ่งเป็นส่วนที่ดูดแสงเรียกว่า Head ส่วน Tail คือ Phytol ซึ่งคลอโรฟิลล์เป็นรงควัตถุที่ปรากฏอยู่ในคลอโรพลาสต์ ทำหน้าที่ในการจับพลังงานจากแสง ซึ่งโครงสร้างของคลอโรพลาสต์นี้ได้กล่าวถึงแล้วในบทที่ 1 นอกจากคลอโรฟิลล์แล้ว รงควัตถุที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์แสงยังมีคาโรทีนอยด์ (Carotenoids) และไฟโคบิลินส์(Phycobilins) สิ่งมีชีวิตที่สังเคราะห์แสงได้จะมีรงควัตถุหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งชนิด รงควัตถุเหล่านี้แสดงอยู่ในตารางที่ 4.1

คลอโรฟิลล์ เอ นั้นจัดว่าเป็น primary pigment ทำหน้าที่สังเคราะห์แสงโดยตรง ส่วนรงควัตถุชนิดอื่น ๆ ต้องรับแสงแล้วจึงส่งต่อให้คลอโรฟิลล์ เอ เรียกว่าเป็น Accessory pigment ในพืชชั้นสูงทั่ว ๆ ไปจะมีคลอโรฟิลล์ เอ มากกว่าคลอโรฟิลล์ บี ประมาณ 2-3 เท่า ส่วนแบคทีเรียบางชนิด เช่น Green bacteria และ Purple bacteria จะมีรงควัตถุซึ่งเรียกว่า Bacteriochlorophyll

ซึ่งปรากฏอยู่ในไธลาคอยด์ การสังเคราะห์แสงของแบคทีเรียจะต่างจากการสังเคราะห์แสงของพืชชั้นสูง เพราะไม่ได้ใช้น้ำเป็นตัวให้อีเลคตรอนและโปรตอน แต่ใช้ H2S แทน และเมื่อสิ้นสุดการสังเคราะห์แสงจะไม่ได้ก๊าซออกซิเจนออกมา แต่จะได้สารอื่น เช่น กำมะถันแทน

 

ตารางที่ 4.1 รงควัตถุที่ปรากฏอยู่ในพืชชนิดต่าง ๆ

 

ชนิดของรงควัตถุ

ช่วงแสงที่ดูดกลืนแสง

(nm)

ชนิดของพืช

คลอโรฟิลล์

 

 

 

คลอโรฟิลล์ เอ

420, 660

พืชชั้นสูงทุกชนิดและสาหร่าย

 

คลอโรฟิลล์ บี

435, 643

พืชชั้นสูงทุกชนิดและสาหร่ายสีเขียว

 

คลอโรฟิลล์ ซี

445, 625

ไดอะตอมและสาหร่ายสีน้ำตาล

 

คลอโรฟิลล์ ดี

450, 690

สาหร่ายสีแดง

คาร์โรทีนอยด์

 

 

 

เบตา คาร์โรทีน

425, 450, 480

พืชชั้นสูงและสาหร่ายส่วนใหญ่

 

แอลฟา คาร์โรทีน

420, 440, 470

พืชส่วนใหญ่และสาหร่ายบางชนิด

 

ลูตีออล (Luteol)

425, 445, 475

สาหร่ายสีเขียว สีแดงและพืชชั้นสูง

 

ไวโอลาแซนธอล

425, 450, 475

พืชชั้นสูง

 

(Violaxanthol)

 

 

 

แกมมา คาร์โรทีน

-

แบคทีเรีย

 

ฟูโคแซนธอล

(Fucoxanthol)

425, 450, 475

ไดอะตอมและสาหร่ายสีน้ำตาล

ไฟโคบิลินส์

 

 

 

ไฟโคอีรีธรินส์

490, 546, 576

สาหร่ายสีแดง และสาหร่ายสีน้ำเงิน

 

(Phycoerythrins)

 

 

 

ไฟโคไซยานินส์

618

สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว และ

 

(Phycocyanins)

 

สาหร่ายสีแดงบางชนิด

 

 

รงควัตถุ จะกระจายอยู่ในส่วนของลาเมลลาของคลอโรพลาสต์ นอกจากนั้นใน คลอโรพลาสต์ยังมีโปรตีน ไขมัน และควิโนน อีกหลายชนิดกระจายตัวอยู่ เช่น ไซโตโครม บี 6 (Cytochrome b6) และไซโตโครม เอฟ (Cytochrome f) พลาสโตไซยานิน (Plastocyanin) ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีทองแดงประกอบอยู่ด้วยเฟอร์ริดอกซิน (Ferredoxin) ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีเหล็กประกอบอยู่ด้วยและเป็น non heme โลหะ พบในลาเมลลา คือ สังกะสี เหล็ก และแมกนีเซียม

การสังเคราะห์แสงเป็นกระบวนการ ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการสองกระบวนการใหญ่ๆ คือ

1. การไหลของอีเลคตรอน หรือ Light Reaction ซึ่งแบ่งเป็น

1.1 Hill Reaction ซึ่งคือ การแตกตัวของน้ำ โดยพลังงานแสง พบโดย Robert Hill เมื่อน้ำแตกตัวแล้ว จะให้อีเลคตรอนออกมา ซึ่งตามธรรมชาติของการสังเคราะห์แสงตัวรับ อีเลคตรอนคือ NADP ทำให้กลายเป็น NADPH ซึ่งเป็นสารที่มีศักยภาพในการรีดิวซ์สารอื่นสูงมาก และจะนำไปใช้รีดิวซ์ CO2 ในกระบวนการต่อไป

การที่น้ำแตกตัวเป็นออกซิเจนได้นี้ เกิดโดยพลังงานแสงที่คลอโรฟิลล์ดูดแล้วส่งไปช่วยเอนไซม์ที่ทำหน้าที่แยกโมเลกุลของน้ำ (Water Splitting enzyme) ให้เกิดปฏิกิริยาได้อีเลคตรอนและก๊าซออกซิเจน

นำผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแตกตัวของน้ำคือโปรตอน ซึ่งจะใช้เป็นตัวพาอีเลคตรอนและนำไปสร้างสารให้พลังงานสูง NADPH นอกจากนั้นอีเลคตรอนยังถูกส่งเข้าไปทดแทนอีเลคตรอนของคลอโรฟิลล์ซึ่งสูญเสียไปในการถ่ายทอดอีเลคตรอน ดังจะได้กล่าวถึงต่อไป

1.2 Photophosphorylation คือ การสังเคราะห์สารเคมีที่ให้พลังงานสูง ATP จากการไหลของอีเลคตรอน จากน้ำไปสู่ NADP ซึ่ง NADP ไม่สามารถรับอีเลคตรอนได้โดยตรง ต้องไหลผ่านสารอื่น ๆ หลายชนิด ในระหว่างการไหลนี้ทำให้เกิด ATP ขึ้นมา

2. Enzymatic Reaction หรือ Dark Reaction เกิดในสโตรมาเป็นกระบวนการที่เปลี่ยน CO2 ให้เป็นน้ำตาลสามารถเกิดได้ในที่มืดและที่มีแสง

เนื่องจากแสงมีลักษณะเป็นคลื่นและมีพลังงาน แสงจะมาในลักษณะเป็นควอนตา (Quanta) หรือโฟตอน (Photon) ซึ่งเป็นพลังงาน พลังงานแต่ละโฟตอนจะเป็นสัดส่วนผกผันกับความยาวคลื่นแสง ดังนั้นแสงสีม่วงและน้ำเงิน จะมีพลังงานมากกว่าแสงสีแดงและสีส้ม

ที่มาhttp://www.thaiblogonline.com/student.blog?PostID=3294  31/01/2556

สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวมีลักษณะอย่างไร

เซลล์พืชและเซลล์สัตว์

สิ่งมีชีวิตทุกชนิดประกอบด้วยเซลล์ เซลล์พืชและเซลล์สัตว์

แตกต่างกันทั้งรูปร่างและรูปร่าง แต่ที่สำคัญคือเซลล์ของ

สิ่งมีชีวิตมีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วนที่เหมือนกัน ได้แก่

 นิวเคลียส ไซโทพลาซึม และเยื่อหุ้มเซลล์

นิวเคลียส มีรูปร่างค่อนข้างกลม ภายในมีสารที่ควบคุม

ลักษณะทางพันธุกรรมและควบคุมการทำงานหรือกิจกรรมต่างๆ

ของเซลล์ ไซโทพลาซึม เป็นของกึ่งของเหลวที่มีส่วนประกอบเล็ก

 ๆ หลายชนิดกระจายอยู่ทั่วไป ส่วนประกอบเหล่านี้ทำหน้าที่สำคัญ

หลายอย่างในกระบวนการ

ดำรงชีวิตของเซลล์ ในไซโทพลาซึมยังมีสารจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของเซลล์

เช่น น้ำตาล โปรตีน ละลายและแขวนลอยอยู่ รวมทั้งมีของเสียต่างๆ จาก

กิจกรรมของเซลล์ด้วย

เยื่อหุ้มเซลล์ อยู่ด้านนอกสุดของเซลล์ ทำหน้าที่ห่อหุ้มส่วนต่างๆ

ที่อยู่ภายในเซลล์ แบ่งแยกขอบเขตของเซลล์จากสิ่งแวดล้อม

และควบคุมการลำเลียงของสารเข้าและออกจากเซลล์

นอกจากส่วนประกอบที่กล่าวมาแล้วนี้ เซลล์พืชยังมีส่วนประกอบ

บางอย่างที่เซลล์สัตว์ไม่มีคือ

ผนังเซลล์ ซึ่งเป็นส่วนที่ห่อหุ้มเยื่อหุ้มเซลล์ เป็นสารพวกเซลลูโลส

ทำหน้าที่เพิ่มความแข็งแรงป้องกันอันตรายให้แก่เซลล์พืช จึงทำให้

เซลล์พืชมีรูปร่างคงที่ได้

คลอโรพลาสต์ เป็นเม็ดสีเขียว ประกอบด้วยเยื่อหุ้ม 2 ชั้น ชั้นนอก

ทำหน้าที่ควบคุมโมเลกุลต่าง ๆ ที่ผ่านเข้าออก ส่วนชั้นในจะมีคลอโรฟิลล์

และเอนไซม์ที่ช่วยในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง

 

 

สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวมีลักษณะอย่างไร
ถ้าเพื่อนๆ ตักน้ำจากบ่อหรือสระมาศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์ โดยเฉพาะ
น้ำที่อยู่บริเวณราก จอก แหน หรือพืชชนิดอื่นๆ อาจพบสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
บางชนิดดังในภาพต่อไปนี้

เซลล์สิ่งมีชีวิต

เซลล์สิ่งมีชีวิต

พารามีเซียม

ยูกลีนา

อะมีบา

ภาพแสดง เซลล์ขิงสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวบางชนิด

สิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีเซลล์เป็นหน่วยพื้นฐาน สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวจะดำเนิน

กิจกรรมทั้งหมดในการดำรงชีวิต เช่น กินอาหาร ย่อยอาหาร เคลื่อนที่ สืบพันธุ์

ได้ภายในเซลล์เพียง 1 เซลล์ สิ่งมีชีวิตที่มีหลายเซลล์จะมีการเรียงตัวของเซลล์

เป็น เนื้อเยื่อ ซึ่งก็คือรูปร่างเหมือนกันและทำหน้าที่อย่างเดียวกันมาอยู่รวมกัน

เช่น เนื้อเยื่อประสาท เนื้อเยื่อบุผนังลำไส้ เป็นต้น

 

ที่มาhttp://www.thaiblogonline.com/student.blog?PostID=3190   31/01/2556

ประเภทของเซลล์

ประเภทของเซลล์
 

                             โดยสรุป เซลล์สามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบคือ


โพรแคริโอต (Prokaryote) ได้แก่ พวกแบคทีเรีย ไมโครพลาสมา และสาหร่ายสีเขียวแกม
 
น้ำเงิน

 

 

 

 
ยูแคริโอต (Eukaryote) ได้แก่ พวกโพรทิสต์ พืช และสัตว์

 

              


             
            ที่มาhttp://eduvc.oas.psu.ac.th/~user151/in5.html    31/01/2556

            เซลล์พืชและเซลล์สัตว์

             

                                                                  เซลล์พืช

            เซลล์พืชมีอยู่ทุกส่วนในต้นพืช ลักษณะรูปร่างของเซลล์พืช ในแต่ละส่วนของ
            พืชอาจแตกต่างกันออกไป แต่อย่างไรก็ตามเซลล์พืชทั่ว ๆ ไป จะประกอบด้วย
            ส่วนประกอบต่าง ๆ คล้ายคลึงกันส่วนประกอบของเซลล์พืช

            การไหลของไซโทพลาสซึม
            เซลล์พืชที่มีชีวิตจะมีการเคลื่อนไหวภายในเซลล์ หรือมีการไหลของไซโทพลาซึม
            ที่อยู่ภายในเซลล์ ถ้าเซลล์ใดมีสารต่าง ๆ ในไซโทพลาซึมที่เข้มข้นมากกว่าเซลล์อื่นๆ
            ที่อยู่ติดกันสารต่าง ๆ สารเหล่านี้จะสามารถไหลจากเซลล์ที่มีความเข้มข้นสารสูงกว่า
            ไปยังเซลล์ที่มีความเข้มข้นต่ำกว่า จนกระทั่งมีความเข้มข้นของสารเท่ากัน
            ที่ผิวของใบพืชหรือผิวของลำต้นอ่อนที่มีสีเขียวของพืชจะมีชั้นของเซลล์บางๆ
            นี้ ออกมาศึกษาได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ซึ่งจะพบเซลล์ที่มีลักษณะเป็นเหลี่ยมเรียง
            ต่อกันเป็นแผ่นถ้าเซลล์ชั้นนี้ถูกทำลายไปจะเกิดอันตรายกับเซลล์ที่อยู่ชั้นใน
            และอาจมีผลทำให้พืชหยุดการเจริญเติบโตหรือเฉาตายได้
            เซลล์สัตว์
            เซลล์สัตว์มีรูปร่างหลายลักษณะ เซลล์บางชนิดอาจมีรูปร่างกลมรี บางชนิดมีรูปร่างยาว
            เป็นเส้น หรือรูปร่างอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับชนิดและหน้าที่ของเซลล์ ตัวอย่างเช่น เซลล์เม็ดเลือด
            แดงมีรูปค่อนข้างกลม ตรงกลางเว้าทั้งสองข้าง เซลล์ประสาทมีรูปร่างหลายแบบ คือ
             กลม รี หรือเป็นแฉก เซลล์กล้ามเนื้อเรียบมีรูปร่องเรียวยาว แหลมหัวแหลมท้าย เป็นต้น

            การเปรียบเทียบเซลล์พืชและเซลล์สัตว์
            ลักษณะรูปร่าง ส่วนประกอบและหน้าที่ของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์
            เปรียบเทียบเพื่อให้เห็นความเหมือนและความแตกต่างระหว่างเซลล์พืชและเซลล์สัตว์
             ได้ดังนี้
            สิ่งเปรียบเทียบ
            รูปร่าง ค่อนข้างกลม ค่อนข้างเหลี่ยม
            ผนังเซลล์ ไม่มี มี
            เยื่อหุ้มเซลล์ มี มี
            คลอโรพลาสต์ ไม่มี มี
            แวคิวโอล ขนาดเล็ก ขนาดใหญ่
            เซนทริโอล มี ไม่มี
            31/01/2556